โรงพยาบาลสัตว์แอนิมอลสเปซ รับรักษาสัตว์เลี้ยงพิเศษ รักษากระต่าย รักษาหนู รักษาชูการ์ไกลเดอร์ รักษานก รักษาเต่า ลงตรวจตั้งแต่ 8.00-24.00 น. ของทุกวัน
หากเจ้าของสัตว์สะดวกทำการนัดหมายจะทำให้ได้รับความสะดวกในการเข้ารับบริการ และ ประหยัดเวลาในการรอคิวเข้าตรวจการรักษา จึงแนะนำให้นัดหมายก่อนเข้ารับบริการ แต่หากในกรณีฉุกเฉิน สามารถเข้ามาได้ตลอดเวลาทำการ
ในกระต่ายเพศเมียนั้น เมื่อกระต่ายมีอายุมากกว่า 4 ปี กระต่ายมีโอกาสเป็นเนื้องอกได้มากกว่า 80% ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำหมันเพื่อป้องกัน โรคทางระบบสืบพันธุ์ ส่วนในเพศผู้ การทำหมันช่วยลดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์เช่น สะบัดฉี่ หวงที่ และโรคทางระบบสืบพันธุ์ เช่นกัน
โดยปกติแล้วกระต่ายหัวเอียงเกิดได้จาก 2 สาเหตุหลักคือ การติดเชื้อในหูชั้นกลาง หรือ หูชั้นใน และ อีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยๆคือการติดเชื้อ โปรโตซัวในสมอง ที่มีชื่อว่า E.Cuniculi ซึ่งโปรโตซัวชนิดนี้ จะทำอันตราย ไต สมอง และเลนส์ตา ขึ้นกับระยะการติดเชื้อ แต่เมื่อเชื้อเดินทางเข้าสู่สมองและมีการทำลายเนื้อเยื่อเยื่อสมอง ทำให้ กระต่ายแสดงอาการทางระบบประสาท เช่น ตากระตุก, หัวส่าย และ หัวเอียง การป้องกันสามารถทำได้โดยการกินยาป้องกัน โปรโตซัว ซึ่งสามารถป้องกันได้ก่อนเกิด อาการ และหากเกิดอาการ ขึ้นแล้ว ต้องรีบพบสัตวแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษา ซึ่งการรักษา จะขึ้นกับอาการและสาเหตุ ในแต่ละตัว
ปกติในธรรมชาติสารอาหารที่เม่นแคระต้องการจะขึ้นกับอายุ ระบบสืบพันธุ์ เพศ และกิจกรรมต่างๆ เม่นแคระในธรรมชาติจะกินแมลงเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีพืช สัตว์เล็กๆที่มีกระดูกสันหลัง ไข่ของสัตว์ต่างๆ หอย หรือซากพืชซากสัตว์ต่างๆบ้างเล็กน้อย ซึ่งการที่เลี้ยงเม่นแคระโดยให้อาหารเม็ดอย่างเดียวนั้นอาจจะไม่สมควรเพราะว่าเราไม่รู้ว่าสารอาหารในอาหารเม็ดนั้นๆจะเพียงพอต่อความต้องการทั้งหมดของเม่นแคระหรือไม่ ซึ่งได้มีการศึกษาว่าไฟเบอร์ในพืชจะช่วยพัฒนาคุณภาพอุจจาระของเม่นแคระและเม่นแคระสามารถย่อยไฟเบอร์นั้นๆได้ เม่นแคระควรจะได้กินผลไม้รวม ผักจำนวนน้อยๆ และแมลงมีชีวิตบ้างบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไคตินจากโครงสร้างภายนอกของแมลงควรจะมีอยู่เป็นประจำในอาหารของเม่นแคระค่ะ ซึ่งการกินแมลงและอาหารเม็ดจะช่วยส่งเสริมสุขภาพฟันและเหงือกให้กับเม่นแคระได้อีกด้วย อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือถั่วและธัญพืชซึ่งอาจจะไปติดอยู่ตามเหงือกและช่องปากอาจจะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปากตามมาได้ และนมที่อาจจะทำให้เม่นแคระท้องเสียได้ค่ะ
ปกติในธรรมชาติเม่นแคระเป็นสัตว์สันโดษ และการที่นำมาเป็นสัตว์เลี้ยง การเลี้ยงตัวเดียวจะทำให้มีการจัดการที่ง่ายมากกว่า แต่ถ้าต้องการเลี้ยงหลายตัวรวมกันต้องมีที่หลบภัยหรือบ้านอย่างน้อยตัวละ1บ้าน การเลี้ยงรวมกันตั้งแต่เด็กๆจะทำให้เม่นแคระสามารถอยู่ด้วยกันได้ดีกว่านำมาเลี้ยงด้วยกันตอนโต ส่วนมากการเลี้ยงเป็นกลุ่มจะแนะนำให้เลี้ยงตัวผู้ 1 ตัว ต่อตัวเมีย 3 ตัว การเลี้ยงตัวผู้หลายตัวรวมกันอาจจะทำให้มีการต่อสู้กันเกิดขึ้นได้และอาจจะส่งผลให้ได้รับสารอาหารอย่างไม่เหมาะสมเพราะตัวที่อ่อนแอกว่าไม่สามารถเข้าไปแย่งกินอาหารได้ค่ะ
หลังจากเม่นแคระคลอดออกมาจะมีขนนิ่มๆสีขาว ซึ่งจะแข็งขึ้นภายใน 2 ชั่วโมง และขนชุดที่ 2 จะแข็งและเริ่มเข้มขึ้นหลังจากเม่นแคระคลอดมาแล้ว 2 วัน ซึ่งขนของ African pygmy hedgehog ในธรรมชาติจะมีสีขาวที่ฐานและจากกลางขนถึงปลายขนจะเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล ความเข้มหรืออ่อนของขนจะขึ้นกับถิ่นที่อยู่อาศัยนั้นๆค่ะ
ปกติแล้วเม่นแคระควรอาศัยอยู่ในพื้นที่ผนังเรียบและสูงพอเพื่อป้องกันการปีนหลบหนี และควรหลีกเลี่ยงการอยู่บนพื้นกรง เนื่องจากเท้าเล็กๆของเม่นแคระอาจจะไปติดที่ซี่กรงส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บหรือแตกหักที่เท้าได้ การปูรองกรงสามารถใช้ทรายแมวที่เป็นเม็ด ซังข้าวโพด หรือก้านปอก็ได้ค่ะ และควรปูสูงจากพื้น 3 นิ้ว เพื่อให้เม่นแคระสามารถขุดและสำรวจได้ ควรเปลี่ยนรองกรงเป็นประจำทุกๆ 3-4 วัน หรือทุกครั้งที่ได้กลิ่นแอมโมเนียลอยออกมา แต่ถ้าการที่เราได้กลิ่นแอมโมเนียลอยออกมานั้นแสดงว่าเม่นแคระจะต้องได้รับกลิ่นมานานก่อนเราอีกเพราะจมูกของเม่นแคระติดพื้นมากกว่าเรา ทางที่ดีเราควรจะเปลี่ยนก่อนที่เราจะได้กลิ่นแอมโมเนียลอยออกมา ไม่งั้นอาจจะทำให้เม่นแคระมีปัญหาทางระบบหายใจได้ค่ะ
แฮมสเตอร์สามารถพบฟันคู่หน้ามีสีเหลืองได้เป็นปกติ เนื่องจากฟันของแฮมสเตอร์มีสารเคลือบฟันที่เป็นสีเหลืองเข้ม-ส้ม
ลักษณะปื้นสีดำ ไม่นูน พบบริเวณด้านหน้าของต้นขาหลัง หรือสะโพกทั้งสองข้างซ้ายขวา พบได้ทั้งในเพศผู้และเพศเมียของแฮมสเตอร์พันธุ์ไจแอนท์ หรือไซเรียน คือ ต่อมกลิ่น หรือ scent gland ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฟีโรโมน หรือกลิ่นที่ช่วยในการกระตุ้นความสนใจของเพศตรงข้าม และสร้างอาณาเขตของตัวเอง ในแฮมสเตอร์หลายๆตัวจะชอบเลียขนบริเวณด้วยกล่าว ส่วนในแฮมสเตอร์พันธุ์เล็ก จะพบบริเวณตรงกลางหน้าท้อง หรือบริเวณสะดือ
ในพันธุ์ไซเรียน แคมเบล โรโบรอฟกี้ และวินเทอร์ไวท์ ไม่สามารถผสมข้ามสายพันธุ์ได้ และไม่ควรที่จะทำ เนื่องจากในแฮมสเตอร์แต่ละสายพันธุ์มีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน รวมถึงจำนวนคู่โครโมโซมที่ต่างกัน จึงถูกจัดให้อยู่คนละชนิดหรือคนละสปีชี่ส์กัน เหมือนกับสุนัขและแมว ถึงแม้ว่าจะเคยมีการผสมระหว่างพันธุ์วินเทอร์ไวท์และแคมเบลสำเร็จเนื่องจากมีลักษณะสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกันมากกว่าชนิดอื่น (เหมือนม้าและลา) แต่ก็พบปัญหาในลูกและแม่ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญเสียตามมาได้
เนื่องจากแฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่รักสันโดษ ในธรรมชาติเขาจะอาศัยอยู่ตัวเดียว และหวงอาณาเขตของตนเอง จะออกมาพบตัวอื่นเฉพาะในช่วงที่ผสมพันธ์ุ จึงจะพบได้ว่า ในการเลี้ยงแฮมสเตอร์มากกว่า 1 ตัวในกรงเดียวกัน และพื้นที่ในการเลี้ยงไม่กว้างเพียงพอ จะพบการต่อสู้กันเพื่อแย่งอาหาร หรือพื้นที่อาศัยได้ ในบางครั้งอาจไม่พบการกัดกันอย่างเห็นได้ชัด แต่จะพบการข่มกัน โดยตัวที่โดนข่มจะถูกรังแก หรือถูกแย่งอาหาร อาจพบว่ามีลักษณะที่ผอมหรือแคระแกรนกว่าตัวที่มีอำนาจมากกว่า
แฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่มีสายตาไม่ดี และมีจมูกที่ไวต่อกลิ่น รวมถึงแฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่มักจะถูกล่าในธรรมชาติ ดังนั้นแฮมสเตอร์จะนิสัยขี้ระแวง และพร้อม